โซน 1.3 อัตชีวประวัติ ครูเหม เวชกร และ ศ.(พิเศษ) เสถียรพงษ์ วรรณปก

เหม เวชกร เป็นจิตรกรสำคัญคนหนึ่งของเมืองไทย ฉายา “จิตรกร มือเทวดา” มีผลงานเป็นที่รู้จักแพร่หลาย  นอกจากเป็นจิตรกรแล้ว เหม เวชกร ยังมีความสามารถทางสังคีตศิลป์ โดยสีไวโอลินได้อย่าง ไพเราะและยังเขียนหนังสือจนถึงขั้นเป็นนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียง

ครูเหม เวชกร เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๖ ที่ปาก คลองตลาด ตำบลพระราชวัง อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน) เป็นบุตรของของหม่อมราชวงศ์หุ่น ทินกร กับหม่อมหลวงสำริด พึ่งบุญ ชีวิตในวัยเด็กของครูเหม เรียกได้ ว่าขาดความอบอุ่น เมื่ออายุได้ ๘ ปี พ่อกับแม่แยกทางกันจึงไปอยู่กับ หม่อมราชวงศ์แดง ทินกร ผู้เป็นลุง ได้ย้ายติดตามหม่อม ราชวงศ์แดง ไปอยู่ที่จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดพระนครศรีอยุธยาตามลำดับ ต่อมา หม่อมราชวงศ์หุ่น ผู้เป็นบิดาได้มารับตัวครูเหมกลับไปอยู่ด้วย แล้วได้ ส่งเข้าเรียนที่โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์และโรงเรียนอัสสัมชัญ แต่ครูเหม เรียนไม่จบเพราะชอบหนีเรียน ด้วยมีใจรักในการวาดรูป จึงฝึกฝนตน เองหัดเขียนรูปเรื่อยมา เมื่ออายุได้ ๑๐ ปี มีโอกาสพบและเป็นผู้ช่วย คาร์โล ริโกลี จิตรกรชาวอิตาเลียน ที่มา เขียนภาพบนเพดานโดมใน พระที่นั่งอนันตสมาคม และเป็นคนสอนครูเหมให้วาดเส้นและลวดลาย ต่างๆ

สืบเนื่องจากหม่อมราชวงศ์แดง ผู้เป็นลุงได้มารับครูเหมไปอยู่ด้วย อีกครั้งที่บ้านในซอยวัดสามพระยา หม่อมราชวงศ์แดงทำหน้าที่เป็น เลขานุการของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ได้รับมอบหมายให้ดูแล บ้านริมแม่น้ำเจ้าพระยาหลังนี้ ในขณะนั้นเจ้าพระยายมราชได้เป็น แม่กองการก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม ได้ว่าจ้างช่างชาวอิตาลีให้ มาเขียนภาพสีน้ำมันขนาดใหญ่ภายในพระที่นั่งอนันตสมาคม จิตรกร คณะนี้ได้มาพำนักอยู่ที่บ้านริมน้ำที่ซึ่งหม่อมราชวงศ์แดงดูแลอยู่ 

วันหนึ่งมิสเตอร์คาร์โล ริโกลี เห็นครูเหมกำลังวาดรูปด้วยชอล์กบน สะพานท่าน้ำ จึงถามว่าไปเรียนวาดรูปมาจากไหน ครูเหมตอบว่า ไม่ได้เรียนแต่มีใจรักและนึกอยากจะขีดเขียนก็เขียนออกมา มิสเตอร์ ริโกลีเห็นแววจิตรกรของครูเหม จึงขออนุญาตหม่อมราชวงศ์แดงสอน การวาดรูปให้ครูเหม และให้ครูเหมเป็นผู้ช่วยเขียนรูปในพระที่นั่ง อนันตสมาคมในครั้งนั้นด้วย เมื่อภารกิจเสร็จเรียบร้อย มิสเตอร์ ริโกลี ได้ขออนุญาตหม่อมราชวงศ์แดง พานายเหมไปศึกษาวิชาการศิลปะ ที่ประเทศอิตาลี ซึ่งหม่อมราชวงศ์แดงก็อนุญาตและสนับสนุน แต่ ความฝันของครูเหมต้องสลายไป เพราะเมื่อบิดามารดาของครูเหม ทราบเรื่อง ได้พาครูเหมไปหลบซ่อน ทำให้ครูเหมต้องสูญเสียโอกาส ที่จะได้เรียนในสิ่งที่ตัวรัก ความเสียใจในครั้งนี้ทำให้ครูเหมตัดสินใจ หนีออกจากบ้านไปเป็นลูกจ้างที่อู่ต่อเรือของชาวจีนกวางตุ้ง โดยทำ งานทุกอย่างตั้งแต่โยนฟืนใส่เตา เป็นนายท้ายเรือโยง เป็นช่างเครื่อง จักรไอน้ำ เป็นผู้ช่วยช่างดูแลเรือที่แม่กลอง รับจ้างลากเรือวิ่งทวนน้ำ ไปจังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และไทรโยค ทำงานจนอายุได้ ๑๙ ปี จึงเดินทางกลับบ้าน ได้ทำงานเป็นผู้ช่วยช่างน้ำมันในโครงการ ขุดคลองและสร้างเขื่อน พระราม ๖ ที่ท่าหลวงจังหวัดสระบุรี เป็นเวลา ๓ ปี จึงลาออกแล้วมาเช่าบ้านอยู่กับเพื่อนๆ ที่ท่าพระจันทร์  ต่อมาได้ ทำงานเป็นผู้เขียน ภาพประกอบตำราที่กรมตำราทหารบก ทำงานอยู่ ไม่นานก็ถูกเกณฑ์ทหารไปรับใช้ชาติและปลดออกจากราชการไปเป็น ทหารกองหนุนในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ในขณะนั้นกิจการทำหนังสือเฟื่องฟู  มีร้านทำบล็อกเกิดขึ้นหลายแห่ง ครูเหมได้ร่วมมือกับเพื่อนเปิดกิจการ ทำบล็อกขึ้น มีนามว่า “บล็อกสถาน” การทำบล็อกในครั้งนี้ทำให้ ครูเหมได้แสดงฝีมือทางการเขียนภาพบ้าง จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ครูเหม ได้รับการคัดเลือก ให้เขียนซ่อมภาพจิตรกรรม เรื่องรามเกียรติ์ตอน มังกรกรรฐ์ล้ม ที่ฝาผนังห้องที่ ๖๙ ระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทำให้ชื่อเสียงของครูเหม เป็นที่รู้จักมากขึ้น

นาม “เหม  เวชกร” นี้มิใช่นามปากกา หากเป็นชื่อจริง นามสกุลจริง ซึ่งครูเหมใช้ในบัตรประชาชน ที่มาของนามสกุล “เวชกร” นั้น เนื่อง จากสมัยที่ครูเหมยังเร่ร่อนลำบาก ครูเหมได้รับการอุปการะอย่างดียิ่ง เสมือนประหนึ่งเป็นลูกหลานจากขุนประสิทธิ์เวชชกร อดีตสาธารณสุข จังหวัดเพชรบูรณ์ และให้ครูเหมใช้นามสกุลร่วม ครูเหมตัด “ช” ออก หนึ่งตัว จึงเป็น เวชกร มาจนถึงทุกวันนี้

ชื่อเสียงครูเหมเป็นที่รู้จักแพร่หลาย จน พ.ศ. ๒๔๗๘ ครูเหมได้ตั้ง สำนักพิมพ์ส่วนตัวชื่อว่า “คณะนายเหม” พิมพ์หนังสือรายสิบวัน ออก จำหน่าย โดยมีนายเหมเป็นบรรณาธิการ สุมทุม บุญเกื้อ (กิ่ง พึ่งบุญ) เป็นผู้พิสูจน์อักษร โพยม บุณยศาสตร์ เป็นผู้จัดหน้าเข้าเล่ม  ผู้เขียน นวนิยาย คือ ก้าน พึ่งบุญ ซึ่งต่อมารู้จักกันในนามปากกา “ไม้ เมืองเดิม” ต่อมาสำนักพิมพ์ประสบภาวะขาดทุนเนื่องจากเก็บเงินค่า หนังสือจากตัวแทนจำหน่ายไม่ได้ จนต้องเลิกกิจการไปในที่สุด

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือ น.ม.ส. ได้ชวนครูเหม มาทำงานฝ่ายศิลป์ เขียนภาพประกอบวรรณคดีเรื่องต่างๆ ให้กับหนัง- สือพิมพ์ประมวญวัน ต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ โรงพิมพ์ถูกทิ้ง ระเบิดจนต้องเลิกกิจการ  ครูเหมจึงอพยพจากฝั่งพระนครไปอยู่บ้าน สวนฝั่งธนและรับงานเขียนภาพให้กรมประชาสัมพันธ์ โดยเขียนภาพ วิจิตรเรื่องกามนิต ตามต้นฉบับของเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป ซึ่ง ตีพิมพ์ในหนังสือสร้างตนเองและได้เขียน ภาพส่งเสริมวัฒนธรรมของ สามัคคีไทยในยุคมาลานำไทย

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ ได้เข้ารับราชการอีกครั้งที่กองตำรา ได้รับแต่งตั้งให้ เป็นครูสอนวาดเขียนที่โรงเรียนเพาะช่าง มีลูกศิษย์เกิดขึ้นมากมาย ต่อ มาได้ลาออกจากราชการ ไปเข้าร่วมคณะทำหนังสือโบว์แดงราย สัปดาห์ของอุดม ชาตบุตร โดยมีสันต์ เทวรักษ์ เป็นบรรณาธิการ นาย เหม เวชกร เป็นบรรณาธิการฝ่ายศิลป์และรับเขียนภาพวิจิตรและภาพ ปกให้แก่นิตยสารและสำนักพิมพ์ทั่วไป ๔ ปีต่อมาหนังสือโบว์แดงปิด กิจการลง เริ่มออกหนังสืออุดมสารรายปักษ์ โดยมีประหยัด ชาตบุตร เป็นบรรณาธิการ ออกไปได้ ๔๖ ฉบับ ก็ต้องปิดกิจการลงอีก สำนัก พิมพ์เพลินจิตต์ที่ครูเหมเคยร่วมงานด้วยได้ฟื้นตัว ครูเหมได้เขียนภาพ ปกและภาพประกอบให้จนเปิดร้านทำบล็อกขึ้นอีกครั้งที่ถนนเจริญกรุง สี่กั๊กพระยาศรี ชื่อสำนักงานช่างนายเหม เวชกร  ต่อมากิจการเริ่มตก ต่ำลง จึงมอบหมายให้ศิษย์ของครูเหม คือ สุชาติ ทองประไพ ดำเนิน กิจการต่อ

ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นายเปลื้อง ณ นคร บรรณาธิการสำนักพิมพ์ วิทยาสารและชัยพฤกษ์ ของสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช ได้ชวน ครูเหมร่วมงานเป็นช่างเขียนภาพวิจิตรประกอบเรื่องราวในวรรณคดี ลงพิมพ์ในหนังสือชัยพฤกษ์

 

ที่มา : สุขใจ.คอม (www.sookjai.com)

Last modified on Monday, 21 January 2019 03:57

เนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า

เรียนรู้พุทธประวัติจากภาพวาดพุทธประวัติอันทรงคุณค่าของบรมครูเหม เวชกร นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาพุทธประวัติได้จาก "พระพุทธจริยวัตร 60 ปาง"

ศึกษาเพิ่มเติมได้จากเนื้อหาในโซนที่ 1  Read more

เนื้อหาเกี่ยวกับพระธรรม

ในโซนที่ 2 ทางพิพิธภัณฑ์ฯ ได้นำหลักธรรมที่เป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนามาแสดงไว้ให้เป็นแรงบันดาลใจในการอยากค้นคว้าหาความรู้ที่ถูกต้องยิ่ง ๆ ขึ้นไป

ศึกษาเพิ่มเติมได้จากเนื้อหาในโซนที่ 2 Read more

หลักปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอริยบุคคล

บริเวณโซน 10 ทางพิพิธภัณฑ์ฯ ได้คัดสรรหลักธรรมปฏิบัติเพื่อการบรรลุความเป็นพระอริยบุคคลของครูบาอาจารย์สายพระวัดป่า ผู้ที่ได้รับความยอมรับนับถือว่ามีปฏิปทาและได้ปฏิบัติธรรมอย่างอุกกฤษ Read more

พระอรหันต์ 29 องค์

โซน 12 เป็นโซนที่แสดงถึงความสำเร็จของพระอริยสงฆ์ ที่สามารถปฏิบัติธรรมจนสำเร็จชั้นการเป็นพระอรหันต์ 29 องค์ เพื่อมาให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชา ได้ถือรายนามเดียวกันกับที่แสดงในพระเจดีย์ 28 พระอรหันต์ ที่วัดอโศการาม  Read more

You are here: Home Navigations Floor 1 Plan Zone 1 : Buddha โซน 1.3 อัตชีวประวัติ ครูเหม เวชกร และ ศ.(พิเศษ) เสถียรพงษ์ วรรณปก