ภาพที่ ๗๙ โทณพราหมณ์แบ่งสรรพระบรมธาตุแก่พราหมณ์ และกษัตริย์ ๗ พระนคร

ภาพที่ ๗๙ โทณพราหมณ์แบ่งสรรพระบรมธาตุแก่พราหมณ์ และกษัตริย์ ๗ พระนคร

ข่าวพระพุทธเจ้านิพพานที่เมืองกุสินาราแล้ว เจ้ามัลลกษัตริย์แห่งนครนี้พร้อมด้วยคณะสงฆ์ได้ถวายพระเพลิงแล้วนั้น ได้แพร่ไปถึงบรรดาเจ้านครแห่งแคว้น ต่างๆ บรรดาเจ้านครเหล่านั้นจึงได้ส่งคณะฑูตรีบรุดมายังเมืองกุสินาราพร้อมด้วยพระราชสาส์น

คณะฑูตทั้งหมดมี ๗ คณะ มาจาก ๗ นคร มีทั้งจากนครใหญ่ เช่น นครราชคฤห์ แห่งแคว้นมคธ ที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาเป็นแห่งแรก และนคร อื่นๆ เช่น กบิลพัสดุ์ เมืองประสูติของพระพุทธเจ้า คณะฑูตทั้ง ๗ เมื่อเดินทางมาถึงเมืองกุสินาราก็ได้ยื่นพระราชสาส์นนั้นแก่เจ้ามัลลกษัตริย์ ในพระราชสาส์นนั้น มีความว่า เจ้านครทั้ง ๗ มาขอส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุเพื่อนำไปบรรจุในสถูปให้เป็นที่สักการบูชาไว้ที่นครของตน พวกเจ้ามัลลกษัตริย์ตอบปฏิเสธแข็งขันไม่ ยอมให้ โดยอ้างเหตุผลว่าพระพุทธเจ้านิพพานที่เมืองของตน พระบรมสารีริกธาตุจึงเป็นสมบัติของเมืองนี้เท่านั้น เมื่อเจ้ามัลลกษัตริย์ไม่ยอมแบ่ง  บรรดาเจ้านคร ทั้ง ๗  ก็ไม่ยอม จะขอส่วนแบ่งให้ได้ สงครามแย่งพระบรมสารีริกธาตุก็ทำท่าจะเกิดขึ้น แต่พอดีท่านผู้หนึ่งซึ่งชื่อ 'โทณพราหมณ์'  ได้ระงับสงครามไว้เสียก่อน   โทณพราหมณ์อยู่ในเมืองกุสินารา ตามประวัติแจ้งว่าเป็นผู้เฉลียดฉลาดในการพูด เป็นที่เคารพนับถือของบรรดาเจ้านคร และเป็นผู้มีชื่อเสียงในเรื่องเกียรติคุณ ได้ ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นเลขาธการสหประชาติในสมัยปัจจุบัน คือได้ระงับสงครามไว้เสียทัน โดยได้ปราศรัยให้ที่ประชุมฟังว่า

"พระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงสรรเสริญขันติธรรมและสามัคคีธรรม  แล้วเราทั้งหลายจะมาทะเลาะวิวาททำสงครามกันเพราะพระบรมสารีริกธาตุเป็นเหตุทำไม  มา แบ่งกันให้ได้เท่าๆ กันดีกว่า พระบรมสารีริกธาตุจักได้แพร่หลายและเป็นประโยชน์แก่มหาชนทั่วโลก"

ที่ประชุมเลยตกลงกันได้ โทณพราหมณ์จึงทำหน้าที่แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วนโดยใช้ตุมพะ คือทะนานทองเป็นเครื่องตวง ให้เจ้านครทั้ง ๗  คน ละส่วน เป็น ๗ ส่วน อีกส่วนหนึ่งเป็นของเจ้านครกุสินารา แล้วเจ้านครทั้งหมดต่างอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุนั้นไปเป็นที่ระลึก  แล้วนำไปบรรจุไว้ในสถูปต่าง หาก การแจกพระบรมสารีริกธาตุก็เสร็จสิ้นสุดลงด้วยความเรียบร้อย

พระสรีระของพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ แปดทะนาน เจ็ดทะนาน บูชากันอยู่ในชมพูทวีป ส่วนพระสรีระอีก ทะนานหนึ่งของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นบุรุษที่ประเสริฐอันสูงสุด พวกนาคราชบูชากันอยู่ในรามคาม พระเขี้ยว องค์หนึ่งเทวดาชาวไตรทิพย์บูชาแล้ว ส่วนอีกองค์หนึ่ง บูชากันอยู่ในคันธารบุรี อีกองค์หนึ่งบูชากันอยู่ใน แคว้นของพระเจ้ากาลิงคะ อีกองค์หนึ่ง พระยานาคบูชากันอยู่ ฯ

ด้วยพระเดชแห่งพระสรีระพระพุทธเจ้า นั้นแหละ แผ่นดินนี้ชื่อว่า ทรงไว้ซึ่งแก้วประดับแล้วด้วยนักพรต ผู้ประเสริฐที่สุด พระสรีระของพระพุทธเจ้าผู้มีจักษุนี้ ชื่อว่าอันเขาผู้สักการะๆ สักการะดีแล้ว พระพุทธเจ้า พระองค์ใด อันจอมเทพจอมนาคและจอมนระบูชาแล้ว อันจอมมนุษย์ผู้ประเสริฐสุดบูชาแล้วเหมือนกัน ขอ ท่านทั้งหลายจงประนมมือถวายบังคมพระสรีระนั้นๆ ของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย หาได้ยากโดยร้อยแห่งกัป ฯ

พระทนต์ ๔๐ องค์ บริบูรณ์ พระเกศา และพระโลมาทั้งหมด พวกเทวดานำไปองค์ละองค์ๆ โดยนำต่อๆ กัน ไปในจักรวาล ดังนี้แล ฯ

บาลี มหาปรินิพพานสูตร มหาวรรค ที. ๑๐/๑๕๙/๑๖๒

 

Last modified on Thursday, 14 February 2019 04:01

เนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า

เรียนรู้พุทธประวัติจากภาพวาดพุทธประวัติอันทรงคุณค่าของบรมครูเหม เวชกร นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาพุทธประวัติได้จาก "พระพุทธจริยวัตร 60 ปาง"

ศึกษาเพิ่มเติมได้จากเนื้อหาในโซนที่ 1  Read more

เนื้อหาเกี่ยวกับพระธรรม

ในโซนที่ 2 ทางพิพิธภัณฑ์ฯ ได้นำหลักธรรมที่เป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนามาแสดงไว้ให้เป็นแรงบันดาลใจในการอยากค้นคว้าหาความรู้ที่ถูกต้องยิ่ง ๆ ขึ้นไป

ศึกษาเพิ่มเติมได้จากเนื้อหาในโซนที่ 2 Read more

หลักปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอริยบุคคล

บริเวณโซน 10 ทางพิพิธภัณฑ์ฯ ได้คัดสรรหลักธรรมปฏิบัติเพื่อการบรรลุความเป็นพระอริยบุคคลของครูบาอาจารย์สายพระวัดป่า ผู้ที่ได้รับความยอมรับนับถือว่ามีปฏิปทาและได้ปฏิบัติธรรมอย่างอุกกฤษ Read more

พระอรหันต์ 29 องค์

โซน 12 เป็นโซนที่แสดงถึงความสำเร็จของพระอริยสงฆ์ ที่สามารถปฏิบัติธรรมจนสำเร็จชั้นการเป็นพระอรหันต์ 29 องค์ เพื่อมาให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชา ได้ถือรายนามเดียวกันกับที่แสดงในพระเจดีย์ 28 พระอรหันต์ ที่วัดอโศการาม  Read more

You are here: Home Navigations Floor 1 Plan Zone 1 : Buddha ภาพที่ ๗๙ โทณพราหมณ์แบ่งสรรพระบรมธาตุแก่พราหมณ์ และกษัตริย์ ๗ พระนคร