ภาพที่ ๑๔ ทรงปลุกนายฉันนะให้ผูกม้ากัณฐกะ เพื่อประทับเป็นพาหนะเสด็จออกบรรพชา

ภาพที่ ๑๔ ทรงปลุกนายฉันนะให้ผูกม้ากัณฐกะเพื่อประทับเป็นพาหนะเสด็จออกบรรพชา

ม้าพระที่นั่งที่เจ้าชายเสด็จขึ้นทรง เพื่อเสด็จออกบวชครั้งนี้มีชื่อว่า 'กัณฐกะ'  เป็นสหชาติคือเกิดวันเดียวกับเจ้าชาย  หนังสือปฐมสมโพธิบอกส่วนยาวของม้า นี้ไว้ว่า "ยาวตั้งแต่คอจดท้ายมีประมาณ ๑๘  ศอก" แต่ส่วนสูงกี่ศอก ไม่ได้บอก ไว้บอกแต่ว่า "โดยสูงก็สมควรกับกายอันยาว" และแจ้งถึงลักษณะอย่างอื่นไว้ว่า    "สีขาวบริสุทธิ์ดุจสังข์อันขัดใหม่ ศีรษะนั้นดำดุจสีแห่งกา มีเกศาในมุขประเทศ  (หน้า) ขาวผ่องดุจไส้หญ้าปล้องงามสะอาด กอปรด้วยพหลกำลังมาก  แลยืน ประดิษฐานอยู่บนแท่นแก้วมณี"

ความที่ว่านั้นเป็นม้าในวรรณคดีที่กวีพรรณาให้เขื่อง และให้เป็นม้าพิเศษกว่า ม้าสามัญ  ถ้าถอดความเป็นอย่างธรรมดาก็ว่ากัณฐกะสูงใหญ่สีขาวเหมือนม้าทรง ของจอมจักรพรรดิ  หรือบุคคลผู้ทรงความเป็นเอกในเรื่อง  เมื่อเจ้าชายเสด็จเข้า ใกล้ม้า ทรงยกพระหัตถ์ขวาลูบหลังกัณฐกะ   ท่านว่าม้ากัณฐกะมีความยินดี ก็ เปล่งเสียงร้องดังกึกก้องสนั่นไปทั่วกรุงกบิลพัสดุ์ ดังไปไกลถึงหนึ่งโยชน์(ประมาณ  ๔๐๐ เส้น) โดยรอบ ถ้าเป็นไปตามนี้ ทำไมคนทั้งเมืองจึงไม่ตื่นกัน ท่านผู้รจนา วรรณคดีเรื่องนี้ท่านบอกว่า  "เทพยดาก็กำบังเสียซึ่งเสียงนั้นให้อันตรธานหาย ไป..."  ท่านใช้เทวดาเป็นเครื่องเก็บเสียงม้านั่นเอง ถ้าถอดความจากเรื่องราวของ วรรณคดีดังกล่าวออกมาก็คือ เจ้าชายทรงชำนาญในเรื่องม้ามาก  ทรงสามารถ สะกดม้าไม่ให้ส่งเสียงร้องได้

จากนั้นก็เสด็จขึ้นหลังกัณฐกะ  บ่ายพระพักตร์ออกไปทางประตูเมืองที่ชื่อ 'พระยาบาลทวาร'  โดยมีนายฉันนะมหาดเล็กตามเสด็จไปข้างหลั  วันที่เสด็จออก บวชนั้น หนังสือปฐมสมโพธิบอกว่าเป็นวันเพ็ญเดือน ๘ ท่านว่า "พระจันทร์ แจ่มในท่ามกลางคัคนาดลประเทศ (ท้องฟ้า)  ปราศจากเมฆ ภายในห้องจักรวาลก็ขาวผ่องโอภาสด้วยนิศากรรังสี" นิศากรรังสี คือ แสงจันทร์ในวันเพ็ญ

 ดูกรภารทวาชะ ในโลกนี้ ก่อนแต่การตรัสรู้ เรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ได้มีความคิดเห็นว่า ฆราวาส คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้ บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาว- พัตร์ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตเถิด.  สมัยต่อมา เรานั้นยังเป็นหนุ่ม ผมดำสนิท ประกอบด้วยวัยกำลัง เจริญ เป็นปฐมวัย เมื่อพระมารดาและพระบิดาไม่ปรารถนา (จะให้บวช) ทรงกันแสงพระเนตรนองด้วยอัสสุชล เราปลงผมและหนวด นุ่งผ้ากาสาวพัตร์ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต.

บาลี สคารวสูตร พราหมณวรรค ม.ม. ๑๓/๕๐๖/๗๓๘

 

Last modified on Thursday, 07 February 2019 06:20

เนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า

เรียนรู้พุทธประวัติจากภาพวาดพุทธประวัติอันทรงคุณค่าของบรมครูเหม เวชกร นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาพุทธประวัติได้จาก "พระพุทธจริยวัตร 60 ปาง"

ศึกษาเพิ่มเติมได้จากเนื้อหาในโซนที่ 1  Read more

เนื้อหาเกี่ยวกับพระธรรม

ในโซนที่ 2 ทางพิพิธภัณฑ์ฯ ได้นำหลักธรรมที่เป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนามาแสดงไว้ให้เป็นแรงบันดาลใจในการอยากค้นคว้าหาความรู้ที่ถูกต้องยิ่ง ๆ ขึ้นไป

ศึกษาเพิ่มเติมได้จากเนื้อหาในโซนที่ 2 Read more

หลักปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอริยบุคคล

บริเวณโซน 10 ทางพิพิธภัณฑ์ฯ ได้คัดสรรหลักธรรมปฏิบัติเพื่อการบรรลุความเป็นพระอริยบุคคลของครูบาอาจารย์สายพระวัดป่า ผู้ที่ได้รับความยอมรับนับถือว่ามีปฏิปทาและได้ปฏิบัติธรรมอย่างอุกกฤษ Read more

พระอรหันต์ 29 องค์

โซน 12 เป็นโซนที่แสดงถึงความสำเร็จของพระอริยสงฆ์ ที่สามารถปฏิบัติธรรมจนสำเร็จชั้นการเป็นพระอรหันต์ 29 องค์ เพื่อมาให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชา ได้ถือรายนามเดียวกันกับที่แสดงในพระเจดีย์ 28 พระอรหันต์ ที่วัดอโศการาม  Read more

You are here: Home Navigations Floor 1 Plan Zone 1 : Buddha ภาพที่ ๑๔ ทรงปลุกนายฉันนะให้ผูกม้ากัณฐกะ เพื่อประทับเป็นพาหนะเสด็จออกบรรพชา